สาเหตุ 6 ข้อหลักที่พบได้บ่อยๆทำให้เกิดอาการผมร่วง
ปัญหาผมร่วงพบบ่อยในเพศชายโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น แต่บางครั้งอาจพบว่าผมเริ่มร่วงได้ตั้งแต่ในวัยรุ่น ผมร่วงจนเกิดผมบางและศีรษะล้านทำให้เกิดความกังวล และสูญเสียบุคลิกภาพได้ ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ (Androgentic alopecia) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด แต่นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดผมร่วงพบได้รองๆ ลงไปได้แก่
- เป็นการร่วงตามปกติ (Normal variation) วงจรชีวิตปกติของเส้นผมจะมีการเจริญอยู่ในช่วง 2 – 6 ปี หลังจากนั้นจะหยุดเจิญเติบโตแล้วหลุดร่วงออกและมีเส้นผมใหม่มาแทน ดังนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ผมจะมีการหลุดร่วงออกไป และมีเส้นใหม่ขึ้นมาทดแทนเสมอ ๆ ดังนั้นขณะที่เราหวีผม แปรงผม สระผม เช็ดผม ถูหนังศีรษะ ก็จะมีเส้นผมที่หลุดร่วงออกมาได้ตลอด
บางครั้งผมที่ร่วงตามธรรมชาตินี้อาจเกิดขึ้นมากกว่าผมที่ขึ้นใหม่นี่เป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านตามมาได้ ดังนั้นการที่จะบอกว่าผมร่วงนี้ควรรักษาหรือไม่อาจดูได้จากว่าผมบางลงหรือไม่ หรือเพียงแค่ร่วงมากกว่าปกติเท่านั้น - ความผิดปกติของฮอร์โมน มีความผิดปกติของฮอร์โมนหลายอย่างที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง เช่น
- ไทรอยด์ฮอร์โมนทั้งแบบฮอร์โมนต่ำและฮอร์โมนสูงเป็นสาเหตุของความผิดปกติทางฮอร์โมนที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดผมร่วงผมบางทั่วทั้งหนังศีรษะ
- การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำให้เกิดผมร่วงที่บริเวณหนังศีรษะและกระตุ้นการเจริญของขนที่บริเวณใบหน้าและลำตัวให้เกิดมากขึ้น
- การมีระดับฮอร์โมนอินซูลินที่ผิดปกติไป เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้
- ในผู้หญิงที่มีซีสต์ที่รังไข่มาก (Polycystic ovary syndrome - PCOS) จะมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนซึ่งทำให้เกิดผมร่วงได้ พบบ่อยในผู้หญิงที่อ้วนมีประวัติประจำเดือนผิดปกติ มักขาดหายติดต่อกันหลายเดือน ร่วมกับมีลักษณะเด่นของฮอร์โมนเพศชายสูง เช่น หน้ามัน หนังศีรษะมัน มีสิวเกิดง่าย มีขนขึ้นตามแขนขา - การอักเสบของหนังศีรษะ (Scalp inflammation) ภาวะใดก็ตามที่ทำให้เกิดการอักเสบของหนังศีรษะเช่น ผื่นแพ้ ผิวหนัง (eczema) ผื่นจากต่อมไขมัน อักเสบ (seborrheic dermatltis), สะเก็ดเงิน (psoriasis) ทำให้เกิดผมร่วงได้ โดยมักจะพบว่ามีผื่นแดงเป็นขุยที่ผิวหนังบริเวณหย่อมที่ผมร่วง การติดเชื้อรา เช่น กลาก เชื้อแบคทีเรียที่รูขุมขน (folliculitis) ทำให้เกิดผื่นที่หนังศีรษะและเกิดผมร่วงตามมาได้เช่นกัน
ส่วนหย่อมของผมร่วงที่ไม่พบมีหนังศีรษะแดงร่วมด้วยมักเกิดจากภูมิคุ้มกันต่อรากผมซึ่งพบได้ ใน โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ (alopecia areata) - การบาดเจ็บเฉพาะที่ (local trauma) หรือดึงรั้งมากไป การใช้ยางรัดผมที่แน่นเกินไป การถักเปีย มัดจุกที่แน่นมาก ทำให้ผมร่วงโดยเป็นการดึงเส้นผมออกจากบริเวณฐานของมัน การใช้สารเคมีกับเส้นผมเป็นการทำร้ายรากผมโดยตรง เช่น การดัดผม ย้อมผม แมลงบางชนิดเช่น เหา ทำให้เกิดผมร่วงโดยการกระตุ้นการเกา ซึ่งถ้ารุนแรงมากไปอาจทำให้หนังศีรษะอักเสบได้ การถอนผมที่เป็นนิสัยทำให้เกิดผมร่วงเรื้อรังได้
- การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิดทำให้เกิดผมร่วง ได้ เช่น ยาลดความดัน ชนิดยาต้านเบต้า ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคเก๊าฑ์ ถ้าผมร่วงเกิดขึ้นในช่วงที่ใกล้เคียงกับการเริ่มใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือการเพิ่มปริมาณการใช้ยา อาจเป็นไปได้ว่ายาชนิดนั้นมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผมร่วงได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงชั่วคราว เมื่อหยุดใช้ผมก็จะกลับมาขึ้นได้เหมือนเดิม ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้ยานั้น เรื่องของการปรับเปลี่ยนยา
- ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychological factors) ความเครียด ความกังวล ภาวะซึมเศร้าเป็นปัจจัยที่พบได้บ่อยที่ทำให้ผมบางลง และเป็นสาเหตุที่ค้นหาและรักษาได้ยาก คนส่วนใหญ่ไม่รับรู้ว่าตนเองเครียดหรือกังวลมากขนาดไหน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะประเมินความเครียดของตนเองน้อยกว่าความเป็นจริง บางครั้งความกังวล ความเครียดที่เกิดขึ้น เกิดร่วมกับผมร่วงจากสาเหตุอื่นๆ ก็จะทำให้ปัญหาผมร่วงแย่ลงไปกว่าเดิมได้
บางครั้งผมที่ร่วงตามธรรมชาตินี้อาจเกิดขึ้นมากกว่าผมที่ขึ้นใหม่นี่เป็นสัญญาณหนึ่ง ที่อาจทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านตามมาได้ ดังนั้นการที่จะบอกว่าผมร่วงนี้ควรรักษาหรือไม่อาจดูได้จากว่าผมบางลงหรือไม่ หรือเพียงแค่ร่วงมากกว่าปกติเท่านั้น
การรักษาปัญหาผมร่วงผมบาง ของไทยแฮร์เซ็นเตอร์ หมอรักษาผมร่วงจะทำหน้าที่เสมือนนักสืบในการหาคำตอบให้ได้ว่า ปัญหาผมร่วงของผู้เข้ารับการรักษาเกิดจากสาเหตุอะไรแน่ จึงจะจ่ายยารักษาผมร่วงให้ตรงกับสาเหตุมากที่สุด อย่างไรก็ตามจะมีผู้มารับการรักษาประมาณร้อยละ 10 หรือประมาณ 1 ใน 10 ที่แพทย์ผู้รักษาไม่สามารถจะบอกสาเหตุของอาการผมร่วงได้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร กรณีเช่นนี้นโยบายของไทยแฮร์ฯ ในการรักษาคือให้การรักษาในเบื้องต้นครอบคลุมทุกๆ สาเหตุที่พบบ่อยไว้ก่อน แล้วนัดการตรวจติดตามผลให้บ่อยขึ้นโดยทั่วไปประมาณทุก 1 เดือน เมื่อผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ จึงจะคงการรักษาต่อไปอีกประมาณ 5 - 6 เดือน
การรักษาปัญหาผมร่วงผมบาง ของไทยแฮร์เซ็นเตอร์ หมอรักษาผมร่วงจะทำหน้าที่เสมือนนักสืบในการหาคำตอบให้ได้ว่า ปัญหาผมร่วงของผู้เข้ารับการรักษาเกิดจากสาเหตุอะไรแน่ จึงจะจ่ายยารักษาผมร่วงให้ตรงกับสาเหตุมากที่สุด อย่างไรก็ตามจะมีผู้มารับการรักษาประมาณร้อยละ 10 หรือประมาณ 1 ใน 10 ที่แพทย์ผู้รักษาไม่สามารถจะบอกสาเหตุของอาการผมร่วงได้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร กรณีเช่นนี้นโยบายของไทยแฮร์ฯ ในการรักษาคือให้การรักษาในเบื้องต้นครอบคลุมทุกๆ สาเหตุที่พบบ่อยไว้ก่อน แล้วนัดการตรวจติดตามผลให้บ่อยขึ้นโดยทั่วไปประมาณทุก 1 เดือน เมื่อผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ จึงจะคงการรักษาต่อไปอีกประมาณ 5 - 6 เดือน
- ปัญหาผมร่วงควรตั้งต้นตรงนี้
- ผมร่วงมากทำไงดี
- ผมร่วงวันละกี่เส้น