Thai Hair Center has provided healthcare since 1999

สภาพหนังศีรษะที่พบร่วมกับอาการผมร่วง

สภาพหนังศีรษะและปัญหาของหนังศีรษะที่พบร่วมกับอาการผมร่วง

โพสต์ : โดย ทีมงานวิชาการ
ปรับปรุงล่าสุด : 24 ก.ค. 62 - ครั้งที่ 8

หนังศีรษะอักเสบแดงพบร่วมกับอาการผมร่วงมากที่สุดและอาจะพบสภาพหนังศีรษะบางอย่างร่วมกับอาการผมร่วงได้อีก บางอย่างเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้เกิดอาการผมร่วง สภาพปัญหาหนังศีรษะที่พบร่วมบ่อยๆคือ

ไทยแฮร์เซ็นเตอร์ : พบว่าในผู้ที่มารับการรักษาเรื่องผมร่วง ผมบาง จำนวนประมาณร้อยละ 30 มีอาการอักเสบของหนังศีรษะร่วม โดยในจำนวนนี้ ประมาณร้อยละ 70 ไม่มีอาการที่จะบ่งชี้ถึงการอักเสบอย่างอื่นเลยของหนังศีรษะ เช่น ไม่มีอาการคัน ไม่มีอาการเจ็บหนังศีรษะ ไม่มีลักษณะตุ่มคัน ไม่มีลักษณะบวมของหนังศีรษะ ไม่มีลักษณะขุยที่หนังศีรษะ ไม่มีรังแค สิ่งที่ตรวจพบได้อย่างเดียวคือ หนังศีรษะแดงเป็นหย่อมรอบรูขุมขนหรือแดงเป็นปื้นใหญ่ทั่วบริเวณหนังศีรษะ อาการอักเสบของหนังศีรษะที่ว่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติสัมผัสกับสารเคมีใดๆมาก่อน การอักเสบลักษณะนี้เชื่อว่าสัมพันธุ์กับปริมาณ DHT - Dihydrotestosterone ที่หนังศีรษะ หรือบางคนเรียกว่า DHT Scalp Inflammation บางรายลักษณะการอักเสบแดงเป็นปื้นใหญ่ๆ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของอาการผมร่วงอย่างรุนแรง หลังจากเริ่มมีการอักเสบประมาณ 2 - 3 สัปดาห์
การมีหนังศีรษะอักเสบ : ในลักษณะนี้ ควรพึงระวังให้มากในผู้ที่มีอาการผมร่วง แล้วจะเริ่มรักษาตัวเองโดยการใชัผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ช่วยลดผมร่วง อาจจะเป็น แฮร์โทนิค ยาไมน็อกซิดิลชนิดทาภายนอก แชมพูลดอาการผมร่วง
โปรดระวังให้มากก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โปรดให้คนรอบข้างช่วยเปิดดูสภาพหนังศีรษะก่อนว่ามีการอักเสบแดงอยู่หรือไม่ การมองว่ามีอาการอักเสบของหนังศีรษะ คนทั่วไปก็สามารถบอกได้ ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์วินิจฉัย ถ้ามีการอักเสบอยู่ ต้องหลีกเลี่ยง สารเคมีที่กล่าวมาทุกชนิด เพราะจากประสบการณ์ของไทยแฮร์ฯ พบว่า จะทำให้ผิวหนังศีรษะอักเสบลุกลามเร็ว ผมร่วงมากอย่างรุนแรงจนผมบางมากๆและยากต่อการรักษาแก้ไขในภายหลัง

หลายครั้งที่คนส่วนใหญ่ดูแลแต่เฉพาะเส้นผม แต่มองข้ามส่วนสำคัญส่วนหนึ่งไป นั้นคือหนังศีรษะ หนังศีรษะที่มีสุขภาพดี จะทำให้เส้นผมที่ขึ้นมามีสุขภาพที่ดีด้วย ปัญหาของหนังศีรษะที่อาจพบได้บ่อยมีดังนี้คือ

  1. รังแค (Dandruff) ปัญหารังแคเป็นปัญหาหนังศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด ในบางคนอาจไม่ทราบว่าตนเองมีรังแคอยู่ รังแคมีชื่อทางการแพทย์ว่า Pityriasis และมีลักษณะเป็นแผ่นของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว อาจอยู่ที่บริเวณหนังศีรษะหรือผม แต่มักจะเห็นได้จากการที่ร่วงหล่นอยู่ที่บริเวณไหล่ บ่อยครั้งที่ผู้ที่เป็นรังแคจะถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นหนังศีรษะแห้ง ความแตกต่างอยู่ที่หนังศีรษะที่แห้งอาจพบเซลล์ผิวหนังที่ลอกหลุดเป็นขุยได้ แต่รังแคจะเป็นแผ่นใหญ่กว่า มันวาวกว่าและมักพบได้ร่วมกับอาการแดง คัน และระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะ เชื่อว่ารังแคเป็นผลจากการติดเชื้อที่หนังศีรษะและที่สำคัญแผ่นรังแคที่มีความมันวาวนี้ มักมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากรังแคถูกเชื่อว่าเป็นการติดเชื้อ ดังนั้นจึงอาจติดต่อกันได้ จึงไม่ควรใช้อุปกรณ์ของผมร่วมกับผู้อื่น เช่น หวี, แปรง โดยที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างเหมาะสมก่อน เมื่อสระผมควรมั่นใจว่าล้างแชมพูและครีมนวดออกหมด โดยไม่เหลือตกค้างอยู่ที่หนังศีรษะ จากการล้างออกไม่หมดจะทำให้ปัญหารังแคเป็นมากขึ้น
    ในกรณีที่เป็นเล็กน้อยอาจใช้แชมพูกำจัดรังแคที่มีขายทั่วไปซึ่งอาจมีส่วนผสมของ Ketoconazole หรือ ยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) สำหรับหนังศีรษะอยู่ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นมาก เช่นมี อาการแดง คันมากที่หนังศีรษะ มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมที่บริเวณรอยถลอกจากการเกา ควรจะพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดผมร่วงตามมาได้
  2. หนังศีรษะแห้ง (Dry scalp) เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว หรือในที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนสลับเย็น ผิวบริเวณหนังศีรษะจะแข็งคัน ๆ และมีขุยเล็ก ๆ หลุดออกมาโดยเฉพาะในเวลาที่หวีหรือแปรงผม บางครั้งภาวะหนังศีรษะที่แห้งจะถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นรังแค ทำให้การรักษาผิด ซึ่งอาจทำให้ภาวะหนังศีรษะแห้งแย่ลงได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันในท้องตลาดมีแชมพูที่มีส่วนผสมที่สามารถรักษาได้ทั้งผู้ที่เป็นรังแคไม่มาก และหนังศีรษะแห้งร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ที่ไม่แน่ใจในการแยกความแตกต่างของภาวะทั้งสองนี้ มั่นใจในการใช้แชมพูดังกล่าวมากขึ้นได้ วิธีทั่วไปที่ช่วยลดหนังศีรษะแห้งคือ ใช้ครีมนวดผม (deep conditioning treatments) ครีมให้ความชุ่มชื้น (moiturizers) และโลชั่น บำรุงสำหรับหนังศีรษะ, นวดหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด, อบไอน้ำ เพื่อให้หนังศีรษะชุ่มชื้นขึ้น
  3. หนังศีรษะมัน (Oily scalp) หนังศีรษะมัน เป็นภาวะที่รักษาค่อนข้างยากโดนเฉพาะในคนที่มีผมยาว ผลิตภัณฑ์ที่ลดความมันของหนังศีรษะอาจทำให้หนังศีรษะแห้งเกินไปได้ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง คนที่มีหนังศีรษะมัน มักบ่นว่า การสระผมทุกวันเพื่อป้องกันหนังศีรษะมัน ทำให้ปลายผมแห้ง แต่หากใช้ครีมนวดผม ผมที่อยู่บริเวณโคนกลับดูมันขึ้น บ่อยครั้งที่การรักษาหนังศีรษะที่มันกับภาวะผมแห้ง สามารถดีขึ้นได้จากการปรับเปลี่ยนการดูแลเส้นผมเพียงเล็กน้อย อย่างแรกคือใช้แชมพูเฉพาะบริเวณโคนผม และใช้ครีมนวดเฉพาะส่วนปลายผม นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ ลดความมันของหนังศีรษะ ที่มีอยู่ในท้องตลาดถูกดีไซน์มาให้ใช้บริเวณหนังศีรษะเท่านั้น หากใช้มากเกินไปจนถูกเส้นผม ผมที่โดนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจแห้งลงได้เช่นกัน ดังนั้นอาจใช้สำลีหรือฟองน้ำช่วยในการทาโทนิกดังกล่าวที่บริเวณที่บริเวณหนังศีรษะ
    การนวดหนังศีรษะหรือแปรงผม ช่วยในเรื่องของการเพิ่มเลือดไปหล่อเลี้ยงที่หนังศีรษะ แต่จะทำให้การผลิตไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ช่วยกระจายน้ำมันไปยังบริเวณส่วนของเส้นผมส่วนปลาย
    นอกจากนี้การใช้น้ำเย็นล้างผมหลังการสระผมด้วยน้ำอุ่นจะช่วยปิดรูขุมขนบริเวณหนังศีรษะ และลดการผลิตน้ำมันได้
  4. สิวที่บริเวณหนังศีรษะ (Scalp acne) สิวสามารถขึ้นที่บริเวณหนังศีรษะได้เช่นเดียวกับที่บริเวณอื่น ๆ และสามารถรักษาได้เช่นเดียวกัน โดยการใช้โลชั่นทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) เฉพาะบริเวณที่เป็น ส่วนใหญ่ผู้ที่มีสิวบริเวณหนังศีรษะจะมีหนังศีรษะมันร่วมด้วย จึงอาจใช้แชมพูสำหรับผู้ที่มีหนังศีรษะมันแล้ว ตามด้วยฝาดสมาน (astringent - สารที่ช่วยในการจับตัวกันของโมเลกุล) หรือยารักษาสิวที่มีกรดซาลิไซลิกเป็นส่วนผสม ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่มี เบนซอยล์ เพอออคไซด์ (benzoil peroxide) เป็นส่วนผสมที่บริเวณหนังศีรษะเพราะจะทำให้สีผมเปลี่ยนไปได้ โดยเฉพาะคนที่เปลี่ยนสีผมมาก่อน เนื่องจากคนที่เปลี่ยนสีผมมาก่อนจะมีรูขุมขนที่ใหญ่กว่าผมของคนที่ไม่ทำสีผม

- ผมร่วงกับหนังศีรษะมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- สาเหตุของหนังศีรษะมัน
- ผมร่วงวันละกี่เส้น
- เคล็ดลับการแก้ปัญหาผมร่วงเบื้องต้นด้วยวิธีธรรมชาติ
- เคล็ดลับวิธีป้องกันผมแตกปลาย
- เคล็ดลับในการดูแลแก้ปัญหาหนังศีรษะมัน

 
ติดต่อรักษาปัญหาผมร่วง ที่ไทยแฮร์เซ็นเตอร์
ติดต่อจองคิวตรวจ รักษาผมร่วง ผมบาง

รักษาทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รักษาโดยแพทย์

แผนปัจจุบัน หมอรักษาผมร่วงโดยเฉพาะ

โทร 02-4460875 หรือ 02-4460282

ค่ารักษา 940 บ/ด   จองคิวตรวจ   ดูแผนที่
เวลาทำการของคลินิกปลูกผม
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป
คลินิกเปิดทำการ วันอังคารถึงเสาร์
เวลาทำการ 11.00-17.00 น.
หยุดทำการ วันอาทิตย์และจันทร์


เทศกาลปีใหม่หยุด 7 วัน
ตั้งแต่ พ. 27 ธ.ค. 66 - อ. 2 ม.ค. 67
เปิดทำการปกติ พ. 3 ม.ค. 67


โปรดโทรตรวจสอบก่อนเดินทางมาตรวจ
02-4460875, 086-8522337


ทางคลินิกไม่มีบริการส่งยาทางไปรษณีย์

  อ. - ส.     11.00 - 17.00 น.
 อา. และ จ.     หยุดทำการ

โทรจองคิวตรวจ 11.00 - 17.00 น.
รับจองทุกวัน เบอร์โทร 02-4460282

จองคิวล่วงหน้า วันต่อวันได้ที่ 02-4460875
( ควรโทรนัดก่อนเพราะบางครั้งแพทย์ติดภารกิจ คลินิกจะปิด )

ค่ายารักษาผมร่วง   นัดคิวตรวจ   ดูแผนที่

ลดปัญหาผมบางด้วยหมอรักษา

ข้อมูลบทความเกี่ยวกับภาวะผมร่วงผมบาง
- จุดเริ่มต้นของผู้ที่มีผมร่วง
- เคล็ดลับในการลดปัญหาหนังศีรษะมัน
- การใช้แชมพูในผู้ที่มีปัญหาหนังศีรษะมัน
- เคล็ดลับในการดูแลผมมัน
- แชมพูในผู้ที่มีผมมัน
- หนังศีรษะมันทำให้ผมร่วง ?
- สาเหตุผมบางในผู้หญิง
- แก้ปัญหาผมบางในผู้หญิง
- ยาปลูกผมที่ใช้ในผู้หญิง
- โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ
- แก้ผมร่วงด้วยธรรมชาติ
- สมุนไพรลดผมร่วง ?
- เคล็ดลับดูแลผมช่วงร้อน
- ป้องกันศีรษะล้านก่อนวัย
- ไบโอตินกับภาวะผมร่วง
- แชมพูรักษาผมร่วง
- สถิติที่เกี่ยวกับเส้นผม
- สาเหตุของผมร่วงในผู้ชาย
- อาหารกับผมร่วง
- สุดยอดอาหารสำหรับผม
- ผมบางจะจัดทรงอย่างไร?
- ความผิดปกติของเส้นผม
- จัดแต่งทรงผมสำหรับคนผมบาง
- ความผิดปกติเรื่องรูปร่างของเส้นผม
- รักษาผมร่วงด้วยสมุนไพรไทย
- วิธีป้องกันผมแตกปลาย
- ผมร่วงกับยาคุมกำเนิด
- ผมร่วงเกิดจากสาเหตุหลักๆอะไรบ้าง
- น้ำกะทิและน้ำมะพร้าวช่วยผมร่วง?