Thai Hair Center has provided healthcare since 1999

ชนิดของอาการผมร่วง

อาการผมร่วงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ

ชนิดของผมร่วงทั้งหมด

โพสต์ : โดย ทีมงานวิชาการ
ปรับปรุงล่าสุด : 19 ก.ค. 62 - ครั้งที่ 10

1.ผมร่วงเป็นหย่อมหรือบางบริเวณ (Localized hair loss)

ผมร่วงที่มีรูปแบบของการร่วงแบบเป็นบริเวณเล็ก ๆ วงเล็กๆ บางครั้งเป็นหลายวงขยายมารวมกันเป็นวงใหญ่ เป็นได้ทั่วศีรษะตำแหน่งไหนก็ได้ หรือ ผมร่วงที่มีรูปแบบแน่นอนในผมบางกรรมพันธุ์ของทั้งหญิงและชาย (Female pattern or Male pattern hair loss)

  • ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ (Alopecia areata) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เกือบทุกวันจะต้องมีผู้มี ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม มารักษาที่ ไทยแฮร์เซ็นเตอร์ อย่างน้อยวันละ 1 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มที่บริเวณเดียวก่อน มีลักษณะเป็น1/4 ของวงกลม หนังศีรษะบริเวณที่ร่วงจะล้านและเรียบส่วนใหญ่ผมจะขึ้นเองได้หลังจากเกิดภาวะนี้ 3–6 เดือน แม้ไม่ได้รับการรักษา บางครั้งผมที่ขึ้นใหม่จะมีสีขาว ในบางรายอาจจะมีผมร่วงเป็นหย่อม และพบว่ามีศีรษะล้านได้ 2 –3 หย่อม บางรายที่เป็นรุนแรงอาจมี ผมร่วงทั้งศีรษะ (Alopecia totalis) และอาจทำให้เกิดศีรษะล้านได้ทั้งศีรษะ ความสำคัญของการรักษาคือ การป้องกันไม่ให้ผมร่วงเป็นหย่อมกลายไปเป็นศีรษะล้านทั้งศีรษะ ผมร่วงชนิดนี้อาจเกิดร่วมกับภาวะขนร่วงที่บริเวณอื่นๆ เช่น หนวด คิ้ว ขนตา ขนแขน ขนในร่มผ้า ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง เป็นได้ทั่วร่างกาย ผมร่วงชนิดนี้มีสาเหตุมาจากภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านรากผม อย่างไรก็ตามผู้ที่มีผมร่วงแบบนี้ส่วนใหญ่ไม่มีโรคทางกายอื่นๆที่ร้ายแรงซ่อนเร้นอยู่ และไม่มีความจำเป็นในการตรวจพิเศษอย่างอื่นร่วม บางคนเข้าใจว่าผมร่วงชนิดนี้สัมพันธ์กับภาวะเครียด แต่ในความเป็นจริงแล้วมีสาเหตุอื่นร่วมด้วยหลายประการ
    การรักษา ได้แก่ การใช้ยาพวกสเตียรอยด์ในบริเวณที่ผมร่วงเพื่อกระตุ้นให้ผมขึ้น
  • ผมร่วงจากการดึงรั้ง (Traction Alopecia) การถักผมที่แน่นเกินไป ถักเปียที่ดึงรั้งมากไปอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ ดังนั้นการเลือกทรงผมที่มีการดึงรั้งต่อรากผมน้อยกว่าจะช่วยป้องกันการทำลายรากผมอย่างถาวรได้
  • ผมร่วงจากพฤติกรรมการดึงผม (Trichotillomania) พฤติกรรมการดึงผมหรือบิดเกลียวผม บางครั้งเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่รู้ตัว และอาจทำให้เกิดผมร่วงในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะได้ ผมร่วงชนิดนี้ที่บริเวณหนังศีรษะจะไม่เรียบและอาจพบตอผมที่ขาดอยู่ การรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว หรืออาจปรึกษาจิตแพทย์
  • เชื้อราที่หนังศีรษะ (Tinea capitis) การติดเชื้อราที่หนังศีรษะส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียน บริเวณที่ร่วงมักจะพบตอผมอยู่ การรักษาคือ การให้ยารับประทานที่สามารถผ่านเข้าไปในรากผมและฆ่าเชื้อราได้ หลังการรักษาแล้วผมสามารถกลับขึ้นได้ตามปกติ

2.ผมร่วงทั้งหนังศีรษะ (Generalized hair loss)

ผมร่วงแบบนี้สามารถแสดงออกได้ทั้งหญิงและชาย ได้ทุกช่วงอายุ แม้จะเป็นวัยรุ่นอายุไม่มากก็สามารถแสดงออกว่ามีผมร่วงผมบางศีรษะล้านได้
* ผมร่วงจากภาวะทางพันธุกรรม (Androgenic alopecia) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่พบในผู้ชายได้มากกว่า เร็วกว่า และเป็นได้เยอะกว่าในผู้หญิง ภาวะศีรษะล้านส่วนใหญ่ที่เกิดจากผมร่วงชนิดนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งฮอร์โมนและพันธุกรรม (ฮอร์โมนเพศชายสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย) ในผู้ชายบางคนอาจจะสังเกตไม่ได้ว่ามีผมร่วงมาก จนกระทั้งเกิดภาวะศีรษะล้านขึ้น ลักษณะศีรษะล้านที่พบในผู้ชายแบบนี้ (Male – Pattern Baldness) อาจพบว่ามันมีแนวผมด้านหน้าที่ร่นขึ้นจากบริเวณด้านหน้าแนวตรงขนานกับหน้าผากเป็นรูปตัว M หรือมีศีรษะล้านบริเวณส่วนกลางกระหม่อม

ข้อสังเกต

  • พันธุกรรมอาจจะได้มาจากฝั่งพ่อหรือแม่ก็ได้
  • ผมที่ยาวอาจทำให้เกิดแรงดึงต่อรากผมได้มากกว่า
  • การสวมหมวกไม่ทำให้เกิดผมร่วงมากขึ้น
  • การสระบ่อยๆผมไม่เร่งให้การเกิดภาวะศีรษะล้าน
  • ยากินรักษาผมร่วงผมบางไม่ได้ไปเร่งทำให้เกิดศีรษะล้านเร็วเมื่อหยุดยา
  • การนวดหนังศีรษะไม่สามารถหยุดผมร่วงได้ แต่อาจจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดซึ่งลดจำนวนเส้นผมที่ร่วงในแต่ละรอบของการร่วงตามปกติ

* ผมร่วงจากภาวะเครียด ของร่างกาย หรือการปรับของฮอร์โมน มากกว่าปกติ (Telogen effluvium)
ในสภาวะปกติ ผมจะมีวงจรชีวิตการเจริญเติบโตประมาณ 2-3 ปี (Anagen or growing phase) หลังจากนั้นจะหยุดพัก (Telogen or resting phase) อยู่บนศีรษะประมาณ 3-4 เดือน แล้วจึงร่วงออก ผมร่วงปกติจะไม่เกิน 100 เส้นต่อวัน ในผู้หญิง และ ประมาณ 60 เส้นต่อวัน ในผู้ชาย ผมส่วนใหญ่จะร่วงในเวลากลางวันหรือเวลาที่สระผมแล้ว และมีเส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทน ส่วนใหญ่ผมที่อยู่ในระยะพักจะมีประมาณ 10 % ของเส้นผมทั้งศีรษะ มีภาวะบางอย่างที่ทำให้ผมในระยะพักมีมากกว่าปกติคือประมาณ 30-40% เมื่อผมในระยะพักมีมากขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 3-4 เดือน (ตามอายุเฉลี่ยของผมในระยะพัก คือ 90-120 วัน) ของภาวะดังกล่าวต่อไปนี้จึงจะพบว่ามีผมร่วงมากขึ้น ได้แก่

  • ภาวะผมร่วงหลังคลอดบุตร ซึ่งมักจะมีผมร่วงช่วงหลังคลอด 3-4 เดือน แล้วจะมีผมร่วงต่อเนื่องไปได้อีกเป็นปีหลังคลอด (เฉลี่ย 12-16 เดือน)
  • ภาวะผมร่วงหลังมีไข้สูง ไม่ว่าสาเหตุของไข้สูงจะมาจากภาวะอะไรก็ตาม ที่พบบ่อยเป็นการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้ไทฟอยด์ อาการผมร่วงมักจะเป็นหลังจากมีประวัติไข้สูงผ่านไปแล้วประมาณ 60-120 วัน
  • ภาวะผมร่วงหลังน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าสาเหตุของน้ำหนักตัวลดลงจะเป็นจากสาเหตุใดก็ตาม ทั้งโรคทางกายที่ทำให้น้ำหนักลดลง หรือ การตั้งใจควบคุมน้ำหนัก ทั้งจากการออกกำลังกายหรือการควบคุมการรับประทานอาหาร หากน้ำหนักตัวลดลงเกินกว่า 1.5 กิโลกรัมต่อเดือน แล้ว มีโอกาสที่จะมีผมร่วงได้อย่างมาก
  • ภาวะผมร่วงหลังเข้ารับการศัลยกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน มีการให้ยากลุ่มคลายกังวลลดความเจ็บปวดระหว่างผ่าตัด
  • ผมร่วงจากภาวะโรคทางกายหรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคลูปัส (SLE) โรคต่อมไทรอยด์ที่ทั้งทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำก็ได้ทั้งสองแบบ
  • ผมร่วงจากการกินยาบางชนิด ซึ่งผมร่วงแบบนี้ไม่สัมพันธ์กับขนาดของยาที่กินและระยะเวลาต่อเนื่องของการกินยา มีรายงานว่าบางครั้งการกินยาเพียงครั้งเดียวในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการผมร่วงได้อย่างมากๆ : ดูรายชื่อของ : ยาที่มักทำให้เกิดอาการผมร่วง
ภาวะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง แม้ว่าอาจพบผมร่วงได้มากและง่าย เช่น บนหมอน ท่อน้ำ หรือตามพื้น ในทางกลับกันผมยิ่งร่วงมาก การพยากรณ์การขึ้นใหม่ของผมยิ่งดี เนื่องจากร่างกายปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆเป็นพิเศษและสามารถสระผมได้อย่างปกติ

 
ติดต่อรักษาปัญหาผมร่วง ที่ไทยแฮร์เซ็นเตอร์
ติดต่อจองคิวตรวจ รักษาผมร่วง ผมบาง

รักษาทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รักษาโดยแพทย์

แผนปัจจุบัน หมอรักษาผมร่วงโดยเฉพาะ

โทร 02-4460875 หรือ 02-4460282

ค่ารักษา 940 บ/ด   จองคิวตรวจ   ดูแผนที่
เวลาทำการของคลินิกปลูกผม
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป
คลินิกเปิดทำการ วันอังคารถึงเสาร์
เวลาทำการ 11.00-17.00 น.
หยุดทำการ วันอาทิตย์และจันทร์


เทศกาลสงกรานต์หยุด 10 วัน
ตั้งแต่ อ. 9 เม.ย. 67 - พฤ. 18 เม.ย. 67
เปิดทำการปกติ ศ. 19 เม.ย. 67


ส. 6 เม.ย. 67 วันจักรี เปิดปกติ
พ. 1 พ.ค. 67 วันแรงงาน เปิดปกติ
ส. 4 พ.ค. 67 วันฉัตรมงคล เปิดปกติ
ศ. 10 พ.ค. 67 วันพืชมงคล เปิดปกติ
พ. 22 พ.ค. 67 วันวิสาขบูชา เปิดปกติ

โปรดโทรตรวจสอบก่อนเดินทางมาตรวจ
02-4460875, 086-8522337


ทางคลินิกไม่มีบริการส่งยาทางไปรษณีย์

  อ. - ส.     11.00 - 17.00 น.
 อา. และ จ.     หยุดทำการ

โทรจองคิวตรวจ 11.00 - 17.00 น.
รับจองทุกวัน เบอร์โทร 02-4460282

จองคิวล่วงหน้า วันต่อวันได้ที่ 02-4460875
( ควรโทรนัดก่อนเพราะบางครั้งแพทย์ติดภารกิจ คลินิกจะปิด )

ค่ายารักษาผมร่วง   นัดคิวตรวจ   ดูแผนที่

คลีนิกไทยแฮร์ รักษาผมร่วง

ข้อมูลบทความเกี่ยวกับภาวะผมร่วงผมบาง
- จุดเริ่มต้นของผู้ที่มีผมร่วง
- ยาที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง
- สภาพหนังศีรษะกับอาการผมร่วง
- เคล็ดลับในการลดปัญหาหนังศีรษะมัน
- การใช้แชมพูในผู้ที่มีปัญหาหนังศีรษะมัน
- หนังศีรษะที่มันทำให้เกิดผมร่วงได้หรือไม่
- สาเหตุผมร่วง ผมบางในผู้หญิง
- การรักษาผมร่วง แก้ปัญหาผมบางในผู้หญิง
- ยาปลูกผมในผู้หญิง
- โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ
- วิธีแก้ปัญหาผมร่วงโดยวิธีธรรมชาติด้วยตนเอง
- ลดผมร่วงด้วยสมุนไพรและอาหารธรรมชาติ
- เคล็ดลับการดูแลรักษาผมในหน้าร้อน
- กฎเหล็ก 6 ข้อเพื่อป้องกันศีรษะล้านก่อนวัย
- การขาดไบโอตินกับภาวะผมร่วง
- แชมพูรักษาผมร่วง
- สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับเส้นผม
- สาเหตุของผมร่วงศีรษะล้านในผู้ชาย
- ผมร่วงกับอาหารที่ควรและไม่ควร
- 12 ชนิดอาหารสำหรับผมร่วง
- จัดแต่งทรงผมสำหรับคนผมบาง
- ความผิดปกติเรื่องรูปร่างของเส้นผม
- รักษาผมร่วงด้วยสมุนไพรไทย
- วิธีป้องกันผมแตกปลาย
- ปลูกผมด้วยศัลยกรรมมีผลข้างเคียงอะไร
- ปลูกผมด้วยผมจริงและถาวรคืออะไร